การฟื้นฟูวัฒนธรรมและสิ่งแวดล้อม : ความท้าทายของชาวชองในภาคตะวันออกของประเทศไทย

จะฟื้นฟูชองได้มั้ย

 

ความสำเร็จอย่างสูงของโครงการฟื้นฟูภาษาชองคือการฟื้นฟูความเชื่อมั่นของชาวชอง และฟื้นฟูความเชื่อในเผ่าพันธุ์ตนเองในฐานะมนุษย์เผ่าพันธุ์หนึ่ง ความคิดนี้ได้รับการยอมรับจากผู้อาวุโส เยาวชน แม้กระทั่งเด็กๆ ครูโรงเรียนประถม และชาวบ้านอื่นๆ ที่ไม่ใช่ชาวชอง โครงการฟื้นฟูภาษาชองได้รับความสนใจจากกลุ่มชาติพันธุ์อื่นๆ ที่อยู่ในสถานะเดียวกัน เช่น ชาวกะซอง ในจังหวัดตราด  ชาวญัฮกุร ในพื้นที่ทางเหนือของจังหวัดชัยภูมิ ถึงแม้ว่าสถานการณ์จะแตกต่างกัน ผู้พูดภาษาเขมรจากจังหวัดสุรินทร์ และผู้พูดภาษามาเลย์ปัตตานีจากจังหวัดทางภาคใต้ได้มาเยือน และเรียนรู้โครงการฟื้นฟูภาษาชอง ในปัจจุบันนี้ กลุ่มชาติพันธุ์ทั้งหลายได้จัดทำโครงการฟื้นฟูของตนเอง โดยปรับโครงสร้างให้เหมาะสมกับวัฒนธรรม ภาษา และระบบนิเวศของตนเอง


เป้าหมายเริ่มแรกของโครงการฟื้นฟูภาษาชองคือ การให้ชาวชองพูดภาษาชองในชุมชนท้องถิ่น ซึ่งในขณะนั้นก็ไม่มีการใช้ภาษาชองนอกจากในโรงเรียน ผู้อาวุโสในหมู่บ้านคลองพลูกล่าวว่า แม้กระทั่งสามี ภรรยาชาวชองเองก็มักไม่ค่อยใช้ภาษาชองพูดกัน* ครูซึ่งไม่ใช่ชาวชองซึ่งสนับสนุนโครงการกล่าวว่า “ภาษาชองอาจจะสูญหายไป แต่เป็นสิ่งสำคัญที่จะบันทึกและจำไว้ว่ามีกลุ่มชาติพันธุ์กลุ่มหนึ่งที่เรียกว่า ชอง” สำหรับชาวชองแล้ว การที่ทุกฝ่ายตกลงกันโดยปริยายว่า การที่ได้ริ่เริ่มให้เห็นถึงคุณค่าของภาษาและวัฒนธรรมชองในชุมชน สำคัญมากกว่าการไปถึงเป้าหมายของโครงการ

 

* Malone (2007:214-216) ได้สังเกตพบเหมือนกันและกล่าวว่ายังมีสิ่งท้าทายดังนี้ 1) ต้องได้รับความร่วมมือจากทั้งชุมชน ไม่ใช่แค่คนกลุ่มเดียว 2) การสำรวจต้องรวมถึงการใช้ภาษาชองที่บ้านของเด็กที่เรียนภาษานี้ที่โรงเรียน 3) การสนับสนุนที่คงที่วาด้านการเงินและอื่นๆ  และ 4) จำเป็นต้องประเมินผลสำเร็จของกิจกรรมแต่ละอย่าง เช่น ศูนย์การเรียนรู้ชุมชน

 

เอกสารอ้างอิง
Doi, Toshiyuki. 2011. Forest Revitalization, Language Revitalization: the Thai Chong People’s Challenge to restore bio-cultural diversity. Tokyo: Mekong Watch (in Japanese). http://www.mekongwatch.org/PDF/Chong_booklet.pdf
Malone, Denis. 2005. Where do We Go from Here? The Challenge and Prospects of Language Revitalization in South East Asia. In Languages and Cultures for Rural Development. Nakorn Pathom, Thailand: Institute of Language and Culture for Rural Development, Mahidol University at Salaya 202-220.
Premsrirat, Suwilai. 2007. Endangered Languages of Thailand. International Journal of Sociology of Language 186 75-93.